วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แนวปฏิบัติที่ดีในการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม




     
         เพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม เป็นรูปธรรม และประสบผลสำเร็จ
ตามเป้าหมายที่กำหนด จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ ดังนี้
1. รับผิดชอบและยึดมั่นในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
 ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นที่องค์กรตั้งอยู่
2. ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม
3. ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ
และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของผู้ใช้บริการและประชาชน
4. มุ่งพัฒนาระบบบริหารจัดการและสร้างวัฒนธรรมองค์กรในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
และพลังงานอย่างประหยัด คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ
5. ให้ความสำคัญในการบริหารงานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม
ในการทำงานอย่างเหมาะสมและได้มาตรฐาน 
รวมทั้งการส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกในการดูแลสุขภาพของพนักงานและครอบครัว
6. ดำเนินกิจกรรมเพื่อร่วมสร้างสรรค์สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ
 โดยมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชุมชน พัฒนาองค์ความรู้ 
สร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและองค์ความรู้ของประชาชน เพื่อยกระดับสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
7. ร่วมมือและสนับสนุนการช่วยเหลือประชาชนในการป้องกันอุบัติเหตุ การเกิดภัยพิบัติหรือ สาธารณภัยอย่างเต็มความสามารถ


ตัวอย่างสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ( Natural environment) เช่น ดิน
น้ำ แร่ ป่าไม้ สัตว์ มนุษย์ อากาศ แสงแดด ฯลฯ

                             - สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต ( Biotic environment) หมายถึง สิ่งที่มีตัวตน
สามารถเคลื่อนที่ได้ ต้องการอาหาร ต้องการที่อยู่ และสามารถที่จะสืบพันธุ์ได้ สิ่งมีชีวิตทุก
ชนิดจะต้องประกอบขึ้นมาจากหน่วยที่เล็กที่สุด ที่เรียกว่า เซลล์ (Cell) ลักษณะและสมบัติ
เฉพาะตัวของสิ่งที่มีชีวิต เช่น พืช สัตว์ มนุษย์ ซึ่งอาจมีลักษณะเล็ก ใหญ่ สูง ต่ำ ดำ ขาว
เขียวก็ได้ตามชนิด และกรรมพันธุ์ของ สิ่งเหล่านี้ที่จะควบคุมลักษณะของตนเองให้มี
ลักษณะเช่นนั้นตลอดไป











 ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
  2. สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made environment) เช่น เมือง บ้าน ถนน
รถ วัฒนธรรม ศาสนา ฯลฯ อาจเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้    

                               - สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ( Physical Environment) เป็นสิ่ง
ที่มนุษย์สร้างขึ้นและสามารถมองเห็นได้ ได้แก่วัสดุและสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น บ้านเรือน
ถนน สะพาน ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวก












 แหล่งอ้างอิง : http://www.niteschan.com/thinking/lifeconcept/pages/datablank-envi.htm

ความสำสัญของสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต            สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต  มีส่วนทำให้คุณภาพของมนุษย์ไปในทางที่ดีและไม่ดี เพราะฉะนั้นทุกคนจึงมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและดูแลรักษา เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆที่เกี่ยวเนื่องมากจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ 
             ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสิ่งมีชีวิต  
             ไม่ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ก็ล้วนก่อให้เกิดประโยชน์และโทษต่อสิ่งมีชีวิตได้ทั้งสิ้น 
            1. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพหรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น เช่น น้ำใช้เพื่อการบริโภคและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ อากาศใช้เพื่อการหายใจของมนุษย์และสัตว์ ดินเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตบนบก แสงแดดให้ความร้อนและช่วยในการสังเคราะห์แสงของพืช
            2. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ จะช่วยปรับให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของมันได้ เช่นช่วยให้ปลาอาศัยอยู่ในน้ำที่ลึกมากๆได้ ช่วยให้   ต้นกระบองเพชรดำรงชีวิตอยู่ในทะเลทรายได้
            3. สิ่งมีชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม เช่น มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่
            4. สิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปตามการกระทำของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น เช่น เมื่อสัตว์กินพืชมีจำนวนมากเกินไปพืชจะลดจำนวนลง อาหารและที่อยู่อาศัยจะขาดแคลน เกิดการแก่งแย่งกันสูงขึ้นทำให้สัตว์บางส่วนตายหรือลดจำนวนลงระบบนิเวศก็จะกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง
           5. สิ่งแวดล้อม จะกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อม ในแง่ของการถ่ายทอดพลังงานระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ย่อยสลาย ในแง่ของการอยู่ร่วมกัน เกื้อกูลกัน หรือเบียดเบียนกัน มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมได้มากมาย ในลักษณะที่แตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น ใช้ประโยชน์จากดินเพื่อการเพาะปลูก ใช้ประโยชน์จากทุ่งหญ้าเพื่อการเลี้ยงสัตว์ ใช้ประโยชน์จากเหมืองแร่เพื่อการอุตสาหกรรม 



                                 



  


      
         
ความสำคัญของพืชและป่าไม้
        พืชมีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้แก่.
        ประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits) ได้แก่ ปัจจัย 4 ประการ
        1. จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นเฟอร์นิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ  ฟืน  เป็นต้น
        2. ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล
        3. ใช้เส้นใย ที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอ เป็นเครื่องนุ่งห่ม เชือกและอื่น ๆ
        4. ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ
        
ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefits)         1. ป่าไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร
        2. ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้น และควบคุมสภาวะอากาศ ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล และ ไม่เกิดความแห้งแล้ง
        3. ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้ เพราะเป็นที่รวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์
        4. ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้้องกันอุทกภัย
        5. ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน จากน้ำฝนและลมพายุ 

        ความสำคัญของดิน
        ดินมีประโยชน์มากมายมหาศาลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ คือ
       1. ประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม เพราะดินเป็นต้นกำเนิดของการเกษตรกรรมเป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์ ในดินจะมีอินทรีวัตถุ และธาตุอาหารรวมทั้งน้ำที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอาหารที่คนเราบริโภคในทุกวันนี้มาจากการเกษตรกรรมถึง 90%
      2. การเลี้ยงสัตว์ ดินเป็นแหล่งอาหารสัตว์ทั้งพวกพืชและหญ้าที่ขึ้นอยู่
     3. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย เป็นที่ตั้งของเมือง บ้านเรือน ทำให้เกิดวัฒนธรรมและอารยธรรมของชุมชนต่าง ๆ มากมาย สัตว์บางชนิด เช่น งู แมลง นาก ฯลฯ
     4. เป็นแหล่งเก็บกักน้ำเนื้อดินจะมีส่วนประกอบสำคัญ ๆ คือส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ กรวด ทราย ตะกอน และส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำซึ่งอยู่ในรูปของความชื้นในดินซึ่งถ้ามีอยู่มาก ๆ ก็จะกลายเป็นน้ำซึมอยู่คือน้ำใต้ดิน น้ำเหล่านี้จะค่อย ๆ ซึมลงที่ต่ำ เช่น แม่น้ำลำคลองทำให้เรามีน้ำใช้ได้ตลอดปี 
 

         ความสำคัญของสัตว์ป่า 
         สัตว์ป่าอำนวยประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นไปในทางอ้อมมากกว่าทางตรง ตัวอย่างคุณค่าของสัตว์ป่า เป็นต้นว่า
        1. ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การค้าสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่า การท่องเที่ยว ฯลฯ
        2. เป็นอาหาร เช่น หมูป่า เก้ง กวาง ตะกวด แย้ เป็นต้น เครื่องยาสมุนไพรเช่น นอแรด กะโหลกเลียงผา เขากวางอ่อน เลือดและ  กระเพาะค่าง ดีของหมี ดีงูเห่า
        3. เครื่องใช้เครื่องประดับ  เช่น หนังใช้ทำกระเป๋า รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม งาช้าง  กระดูก  เขาสัตว์ใช้ทำด้ามมีด  ด้ามเครื่องมือ หรือแกะสลักต่าง ๆ เป็นต้น
       4. การนันทนาการและด้านจิตใจ การท่องเที่ยวชมสัตว์ป่าในสวนสัตว์  อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และแหล่งสัตว์ป่าอื่น ๆ
        5. ด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา และการแพทย์  ด้านการค้นคว้าทดลองต่าง ๆ เช่น ทดลองกับหนู กระแต ลิง จากนั้นจึงนำไปใช้กับคน
       6. เป็นตัวควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น ค้างคาวกินแมลง นกฮูก และงูสิงห์กินหนูต่าง ๆ นกกินตัวหนอนที่ทำลายพืชเศรษฐกิจ เป็นต้น
      7. ความสัมพันธ์ ระหว่างทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เป็นต้นว่าป่าไม้ทำให้สัตว์ป่ามีที่อยู่อาศัย เป็นอาหารและเป็นที่หลบภัย ป่าไม้ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ป้องกันการกัดเซาะของน้ำ ลม ป่าไม้ช่วยทำให้มีน้ำไหลตลอดปี น้ำใสสะอาดปราศจากตะกอน ป่าไม้ช่วยทำให้ฝนตก บรรเทากระแสลมพายุ ป่าไม้ทำให้อากาศไม่ร้อนไม่หนาว ป่าไม้เป็นแหล่งสะสมแร่ธาตุและป่าไม้ทำให้มนุษย์ได้ใช้สอยเป็นประโยชน์
        
ความสำคัญของอากาศ        1. มีก๊าซบางชนิดที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
        2. มีอิทธิพลต่อการเกิด  ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่น เช่น ป่าไม้  และแร่ธาตุ
        3. ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก ไอน้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจากพื้นดิน
        4. ทำให้เกิดลมและฝน
        5. มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจ และร่างกายของมนุษย์ ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไปคนจะอยู่อาศัยด้วยความยากลำบาก
        6. ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์ โดยก๊าซโอโซนในบรรยากาศจะกรองหรือดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้ผิวไหม้เกรียม    เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และโรค ต้อกระจก
        7. ช่วยเผาไหม้ วัตถุที่ตกมาจากฟ้า หรืออุกกาบาต ให้กลายเป็นอนุภาคเล็กๆ จนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และทรัพย์สิน
       8. ทำให้ท้องฟ้ามีสีสวยงาม โดยอนุภาคของสิ่งอื่นที่ปน อยู่กับก๊าซในบรรยากาศจะทำให้แสงหักเห เราจึงมองเห็นท้องฟ้ามีแสงสีที่งดงามแทนที่จะเห็นเป็นสีดำมืด นอกจากนี้ ก๊าซโอโซนซึ่งมีสีน้ำเงินยังช่วยให้มองเห็นท้องฟ้าเป็นสีครามหรือสีฟ้าสดใสอีกด้วย 
                                             
                   ที่มา :
http://www.keereerat.ac.th/webQuest/webman/envir_1.html  
                   ที่มา :http://praiseworthiness/articles/266323/

ประเภทของสิ่งแวดล้อม

ประเภทของสิ่งแวดล้อม มี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

 สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ สัตว์ป่า ฯลฯ สิ่งแวดล้อมประเภทนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอาจใช้เวลาเร็วหรือช้าเพียงใด ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภท
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) สิ่งมีชีวิต (Biotic Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ มีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิตเช่น พืช สัตว์และมนุษย์เราอาจจะเรียกว่าสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environment) ก็ได้
2) สิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่ไม่มีชีวิต อาจจะมองเห็นหรือไม่ก็ได้ เช่น ดิน น้ำ ก๊าซ อากาศ ควัน แร่ธาตุ เมฆ รังสีความร้อน เสียง ฯลฯ เราอาจเรียกว่า สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ได้เช่นกัน




2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น

สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ สร้างขึ้น (Man-Make Environment) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ความรู้ความสามารถที่ได้รับการสั่งสอน สืบทอด และพัฒนากันมาตลอด ซึ่ง ได้แบ่งไว้ 2 ประเภทคือ
1) สิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือสิ่งแวดล้อมที่สามารถมองเห็นได้ เช่น บ้านเรือน เครื่องบิน โทรทัศน์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก หรือตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิต บางอย่างอาจมีความจำเป็น แต่บางอย่างเป็นเพียงสิ่งฟุ่มเฟือย
2) สิ่งแวดล้อมทางสังคม หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Social Environment) หรือ ( Abstract Environment) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบสำหรับอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข สิ่งแวดล้อมทางสังคมได้แก่ระบอบการปกครอง ศาสนา การศึกษา อาชีพ ความเชื่อ เจตคติ กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี ระเบียบข้อบังคับ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมที่มองไม่เห็นจะแสดงออกมาในรูปพฤติกรรม











สิ่งแวดล้อมกับมนุษย์

มนุษย์ มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลย์ของ ธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลย์ของตัวเองได้
กาล เวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหา ดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น
o ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ
o ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา
o ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย






อ้างอิงจาก : http://prakeaw.igetweb.com/index.php?mo=3&art=260300

ความหมายของ สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งแวดล้อมหมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมสิ่งที่เห็นได้ ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตตลอดจนสิ่งที่ เป็นทั้งที่ให้คุณและให้โทษ
กลุ่มนักสิ่งแวดล้อมให้นิยามว่า “สิ่งแวดล้อม” หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา

ประเภทของสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural environment) สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า อากาศ ดิน น้ำ มนุษย์ สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมอื่นประกอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย
- สิ่งที่มีชีวิต (Biotic Environment) หรือเรียกว่าสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environment) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีคุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งที่มีชีวิต เช่น พืช สัตว์ มนุษย์
- สิ่งที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) หรือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ อาจจะมองเห็นหรือมอง ไม่เห็น เช่น แร่ธาตุ อากาศ เสียง

2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Made Environment) ได้จากทรัพยากรดั้งเดิม แล้วมนุษย์เป็นผู้ดัดแปลงเช่น ถนน บ้านเมือง ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมเป็นนามธรรม (Abstract หรือ Social Environment) เช่น วัฒนธรรม ประเพณี การเมือง ศาสนา กฎหมาย

สิ่งแวดล้อม มีคุณสมบัติเฉพาะตัวในแต่ละประเภท สิ่งแวดล้อมนั้น ๆ อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆมีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์ต่อกันเป็นลูกโซ่ เมื่อทำลายสิ่งแวดล้อมหนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมจะมีลักษณะที่ทนทานต่อการถูกกระทบแตกต่างกัน

คุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีกลไกควบคุมการเกิดขึ้น
สิ่งแวดล้อมนั้นจะไม่อยู่โดดเดี่ยวในธรรมชาติ
สิ่ง แวดล้อมหนึ่งมีความต้องการสิ่งแวดล้อมอื่นเสมอเช่น ปลาต้องการน้ำ เพื่อการอยู่รอดหรือต้องการรักษาสภาพตนเองหากขาดสิ่งแวดล้อมอื่นที่จำเป็น อาจสูญสลายได้
สิ่งแวดล้อมจะอยู่กันเป็นกลุ่ม เรียกกลุ่มของสรรพสิ่ง (ระบบนิเวศ) ภายในระบบนิเวศมีองค์ประกอบ หลากหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีหน้าที่เฉพาะ การอยู่ร่วมกันมีกลไกสิ่งแวดล้อมควบคุมกระบวนการต่างๆแสดงออกเป็นการทำงาน ร่วมกัน
สิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวเนื่องเป็นลูกโซ่ ดังนั้นเมื่อทำลายสิ่งแวดล้อมหนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นเป็นลูกโซ่เสมอ
สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทมักมีลักษณะทนทาน และเปราะบางต่อการถูกกระทบต่างกัน
สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงช่วยคราวหรือถาวรก็ได้

กลไกสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์สิ่งแวดล้อมมิติสิ่งแวดล้อม (environmental dimensions) แบ่งเป็น 4 มิติ
- มิติของเสียและมลพิษ
- มิติทรัพยากร
- มิติเทคโนโลยี
- มิติสิ่งแวดล้อม
- มิติเศรษฐสังคม/มิติมนุษย์

1. มิติทรัพยากร resources dimensions หมายถึงทรัพยากรทั้งที่เป็นธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นมิติที่สำคัญเพราะมีบทบาทต่อมนุษย์ในการเอื้อประโยชน์ด้านอาหาร ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม มิติทางทรัพยากรมี 4 มิติ
(1.) ทรัพยากรกายภาพ เป็นทรัพยากรพื้นฐานของระบอบสิ่งแวดล้อม
(2.) ทรัพยากรชีวภาพ เป็นมิติพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์เช่นป่าไม้ สัตว์ป่า พืชเป็นทรัพยากรที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระบบสิ่งแวดล้อมและเป็นตัวฟื้นฟู ความเสื่อมโทรมของระบบ
(3.) คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์สิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นการที่ มนุษย์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาสร้างคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เช่น เกษตรกรรม พลังงงาน
(4.) คุณค่าคุณภาพชีวิต เป็นกลุ่มทรัพยากรที่เกี่ยวข้องทางเศรษฐสังคม ผลที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรจะเป็นตัวชี้ประเด็นว่าสภาพของสิ่งแวดล้อมจะเป็น อย่างไร
มิติทรัพยากรที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ใช้การจัดการความยั่งยืนของระบบสิ่งแวดล้อม

2. มิติเทคโนโลยี เป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ความผิดพลาด ของการนำเทคโนโลยีมาใช้อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

3. มิติของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
- ของแข็ง ได้แก่ กากสารพิษ ขยะ ฝุ่นละออง
- ของเหลว น้ำ น้ำมัน ไขมัน
- ก๊าซ อากาศที่ปนเปื้อนด้วยสารพิษ เขม่าควันออกไซด์ของไนโตรเจน ฯลฯ
- มลพิษทางฟิสิกส์ เสียง มลพิษของความร้อน แสงสว่าง รังสี

4. มิติเศรษฐสังคม/มิติมนุษย์ หมายถึงสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นองค์ประกอบภาคในสิ่งแวดล้อม ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์เช่น ประชากร กฎระเบียบ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับมนุษย์